นายมณฑล ภาคสุวรรณ์

นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ ผุดไอเดียตั้งกองทุนกบข.ดูแลครูเอกชน

นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยว่า ตามที่สถาบันอาชีวศึกษาเอกชนจำนวนหนึ่งมีข้อเรียกร้องขอย้ายกลับไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) หลังย้ายมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 8/2559 นานกว่า 6 ปี โดยให้เหตุผลว่า ได้รับการดูแลที่ไม่เท่าเทียมกับสถาบันอาชีวะรัฐ นั้น ช่วงที่ตนอยู่ในตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ก็ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้ ซึ่งตนได้ขอให้ทางอาชีวะเอกชน ช่วยกันคิด ว่าจะกำหนดรายละเอียดของอาชีวะเอกชน ไว้เป็นหมวดหนึ่งในร่าง พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา พ.ศ. … หรือ แยกพ.ร.บ.อาชีวะเอกชน พ.ศ…ออกมาต่างหากอีกฉบับหนึ่ง

ข้อสรุปที่ได้คือ ให้รวมอยู่กับร่างพ.ร.บ.การอาชีวศึกษาฯ แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล เงินกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ เงินกู้ยืมต่าง ๆ ที่ยังต้องมาใช้ระเบียบเดียวกับโรงเรียนในสังกัดสช. ซึ่งไม่สามารถตัดออกไปได้ เพราะถือว่าเป็นโรงเรียนเอกชนประเภทเดียวกัน ก็ควรจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่เป็นธรรม

“ส่วนจำเป็นจะต้องกลับมาสังกัด สช.หรือไม่นั้น ควรต้องคุยกันให้ชัดเจน เพราะช่วงที่ย้ายไปอยู่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ก็ใช้วิธีการโหวต ดูข้อดี ข้อเสีย และเห็นว่า หากไปสังกัดสอศ. จะสามารถพัฒนางานวิชาการ การจัดการเรียนการสอนด้านอาชีพ รวมถึงจะสามารถเปิดสอนระดับปริญญาตรีได้เช่นเดียวกับอาชีวะรัฐ รวมถึงจะเกิดการแชร์ทรัพยากรร่วมกัน เพราะอาชีวะรัฐมีเครื่องมือค่อนข้างมาก ทำให้เกิดหารพัฒนาการจัดการอาชีวะทั้งระบบได้ ดังนั้นหากจะกลับมาอยู่ในสังกัด สช.อีกครั้ง ก็คงต้องดูข้อดี ข้อเสีย แล้วพิจารณาร่วมกันว่า 6 ปี ที่ย้ายไป เพียงพอที่จะพิสูจน์หรือไม่ว่าการดำเนินการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หากคิดว่ายังไม่เพียงพอ อาจต้องเดินหน้าต่อไปกับ สอศ.” นายมณฑลกล่าว

กองทุนกบข.ดูแลครูเอกชน

เลขาธิการกช. กล่าวต่อว่า ส่วนการปรับแก้เรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน เบื้องต้นยังให้อิงระเบียบเดียวกับสช. โดยครูและผู้บริหารอาชีวะเอกชนที่ส่งเงินสมทบ รัฐก็ยังส่งเงินสมทบให้ในกองทุนสงเคราะห์ตามเดิม รวมถึงมีการเปิดช่อง ให้สามารถเลือกเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ ซึ่งถ้าเลือกแล้ว ก็จะถูกตัดสิทธิออกจากกองทุนเดิม

เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ยอมรับว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาในภาพรวมของครูและบุคลากรสังกัดสช. ที่ตนอยากแก้ไขให้สำเร็จ โดยอาจจะต้องมีการแก้กฎหมาย ผลักดันให้เกิดกองทุนลักษณะเดียวกับ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นเงินสมทบสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษายามเกษียณ ส่วนค่ารักษาพยาบาลอาจให้ย้ายไปใช้สิทธิอื่น

ทั้งหมดนี้ต้องทำประชาพิจารณ์สอบถามความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้อง เพราะการจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล แต่หลักการของกองทุนฯ เลี่ยงไม่ได้เพราะต้องนำดอกผลมาจัดสวัสดิการ ซึ่งก็รวมถึงค่ารักษาพยาบาลด้วย ตรงนี้ค่อนข้างทับซ้อนกับประกันสังคม และโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค ดั้งนั้นสิ่งที่จะทำได้คือหาความชัดเจน และปรับแก้กฎหมาย เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับครูเอกชน

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ bennettbaykayaking.com

ufa slot

Releated